สถานีวิทยุ วปถ 2 เชียงใหม่ ระบบ AM Stereo ความถี่ 738 KHz

 

                                 ประวัติความเป็นมาสถานีวิทยุ วปถ.2 เชียงใหม่ ระบบ AM Stereo ความถี่ 738 KHz 

              สถานีวิทยุ วปถ.2 เชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499  ตั้งอยู่เลขที่ 285 ถนนกองทราย ต. วัดเกตุ  อ.  เมือง  จ. เชียงใหม่ เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของเชียงใหม่ สถานีวิทยุ วปถ.2 เชียงใหม่ เป็นสถานีวิทยุขึ้นตรงต่อกองการวิทยุกระจายเสียงวิทยุประจำถิ่น (ปัจจุบันกองการสื่อสาร) กรมการทหารสื่อสาร กรุงเทพฯ สาเหตุที่ทำให้เกิดการก่อตั้งสถานีวิทยุ วปถ.2 ขึ้น คือ หลังจากทำการทดลองการถ่ายทอดการออกอากาศในการติดตามความเคลื่อนที่ในกรณีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมพระสกนิกรในพื้นที่ภาคอีสาน เมื่อปี พ.ศ. 2497 แล้ว ปรากฏว่าประชาชนให้ความสนใจรับฟังการทดลองการออกอากาศในครั้งนั้นมาก พ.อ.สาลี่ ปาละกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการวิทยุกระจายเสียงประจำถิ่นขณะนั้น จึงได้ริเริ่มทำการออกอากาศที่สำนักงานกองการกระจายเสียงวิทยุประจำถิ่น (ปัจจุบันกองการสื่อสาร) กรมการทหารสื่อสาร สะพานแดง บางซื่อ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2497 โดยใช้เครื่องในสายงานของทหารมาทำการดัดแปลงเพื่อทำการส่งออกอากาศโดยใช้ชื่อนามสถานีว่า “ วสส.1” บางซื่อพระนคร

                   จากการทำการทดลองออกอากาศนับว่าได้ผลดี มีสถิติของผู้รับฟังเป็นจำนวนมากเพราะจำนวนสถานีวิทยุในขณะนั้นมีน้อย พ.อ.สาลี่ ปาละกุล จึงได้มีนโยบายที่จะขยายกิจการการกระจายเสียงไปยังส่วนภูมิภาคโดยมุ่งมาที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นอันดับแรก เพราะโดยปกติจังหวัดเชียงใหม่มีการจัดงานประจำปีที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด ดึงดูดความสนใจของประชาชนทั่วไปเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มโหฬารได้แก่ งานฤดูหนาว งานสงกรานต์และงานลอยกระทง ทำให้เกิดการท่องเที่ยวของประชาชนทั่วทุกภาค ตลอดจนความงามของธรรมชาติและดินฟ้าอากาศ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการทดลองทำการกระจายเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2497 โดย พ.อ.สาลี่  ปาละกุล โดยทำการส่งเจ้าหน้าที่มาทำการทดลองถ่ายทอดออกอากาศในงานฤดูหนาวแล้ว ปรากฏว่า ได้รับความสนใจและการต้อนรับจากส่วนราชการ พ่อค้าและประชาชนอย่างที่คาดไม่ถึงจนได้รับการเรียกร้องให้ทำการตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับสปอนเซอร์จากร้านค้าภายในงานฤดูหนาว     และร้านค้าในจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก เมื่อได้รับการเรียกร้องจากประชาชนชาวเชียงใหม่และได้สอดคล้องกับนโยบายของ พ.อ.สาลี่  ปาละกุล ซึ่งมีอยู่เดิมแล้ว จึงยอมรับมติของส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชนเชียงใหม่ โดยได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการทดลองออกอากาศด้วยเครื่องส่ง 32 อาร์ 9 กำลังส่งออกอากาศ 75 วัตต์ ภายหลังจากงานฤดูหนาวปี พ.ศ. 2497 เสร็จสิ้นลง ใช้สถานีที่ทดลองออกอากาศในค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อทดลองออกอากาศได้ผลดีและมีผู้รับฟังสนใจ แต่รัศมีของการออกอากาศยังไม่ไกลเท่าที่ควร จึงได้นำเครื่องส่ง บีซี.620อี. (ทำการดัดแปลง) ซึ่งมีกำลังส่งออกอากาศ 350 วัตต์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 โดยใช้ชื่อสถานีว่า “วสส.2” ด้วยความถี่ 985 กิโลเฮิร์ท และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถานีมาเป็นสถานีวิทยุ วปถ.2 เมื่อ พ.ศ.2502 สาเหตุเพราะชื่อสถานี “วสส.2” ไปคล้ายกับสถานีวิทยุกระจายเสียงของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีชื่อว่า วศษ. และทำการส่งกระจายเสียงเป็น 3 ภาค คือ

                                                     ภาคเช้าเวลา             05.30 น.  ถึง 10.00 น.

                                                     ภาคกลางวัน             10.30 น.  ถึง 15.00 น.

                                                     ภาคเย็น                   16.30 น.  ถึง 21.00 น.

                   จากการทำการส่งกระจายเสียงยิ่งได้รับความสนใจจากส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชนมากขึ้นตามลำดับ จึงได้รับการสนับสนุนเครื่องส่งที่มีกำลังส่งออกอากาศสูงขึ้นกว่าเดิมอีก 2 เครื่อง คือ

                                         เครื่องส่งคลอลีน                  ขนาด   500 วัตต์       เมื่อ พ.ศ.2502

                                         เครื่องส่งอาร์ซีเจ.                 ขนาด   1 กิโลวัตต์     เมือ พ.ศ.2502

แล้วทำการเปลี่ยนเวลาออกอากาศใหม่เป็นเวลา 04.00 ถึง 24.00 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

                   จากการที่ทำการทดลองออกอากาศแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องสร้างอาคารของสถานีเป็นอาคารถาวร และมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับส่วนราชการ พ่อค้า และประชาชนที่มาติดต่อราชการ ประสานงานและชมกิจการของสถานีอยู่เนือง ๆ พ.อ.สาลี่ ปาละกุล จึงได้ติดต่อกับ พ.อ.ประเสริฐ  เสนานิคม ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงใหม่ในขณะนั้นเพื่อขอสร้างอาคารสถานีวิทยุกระจายเสียงซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ บัดนี้ โดยได้รับความเห็นชอบและอนุมัติตามข้อเสนอ และทำการก่อสร้างเสร็จ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2504 และในเวลาต่อมาจากดำริของ พ.อ. เฉลิม กรัณยวัฒน์  ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการสื่อสารวิทยุประจำถิ่นว่าทางราชการมีนโยบายในการต่อต้านภัยคุกคาม และการตอบโต้ทางการกระจายเสียงของฝ่ายตรงข้าม จึงได้ส่งเครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ มาทำการติดตั้งและแล้วเสร็จทำการออกอากาศได้ตั้งแต่วันที่ 29  มิถุนายน พ.ศ.2509  เป็นต้นมา

                                       ประวัตินายสถานีวิทยุ วปถ.2 

ลำดับ 

ยศ - ชื่อ

ดำรงตำแหน่ง 

 1

 2

 3

 4

 5

 6

 7

 8

 9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

.ต.สมศักดิ์     แย้มชุติ

.ท. สนธิ        โปรเมฆานนท์   

.ส.อ.จำรูญ     พลเดช 

.ท.สัมพันธ์     สายะสมิต

.ต.จำรูญ        พลเดช

.ท.สาย          ยิ้มละมูล

.ต.จำรูญ        พลเดช

.ท.สาย          ยิ้มละมูล

.ท.จำรูญ        พลเดช

.อ.มนัส         ถนอมศักดิ์

.ท.มณเฑียร    พิเดช

.อ.พันธ์ศักดิ์    พันธุ์อุโมงค์

.อ.วิจิตร        ปิ่นโมรา

.อ.ศักดิ์ชัย      อินทชยาคม

ร.ท.อำนาจ      สาธุพันธ์ 

ร.อ.อวยชัย      สี่สมบูรณ์ 

ร.อ.ตรีทิพย์      กลิ่นสุวรรณ์ 

ร.อ.สมคิด       วงค์สุภา 

ร.ท.สมพร       มะลิหอม

 7 ก.พ.99  ถึง 10 ม.ค.00

10 ม.ค.00  ถึง 12 มิ.ย.01

12 มิ.ย.01  ถึง  1 ก.พ.02

  1 ก.พ.02  ถึง 31 พ.ค.02

  1 มิ.ย.02  ถึง 17 พ.ค.03

17 พ.ค.03  ถึง  1 ธ.ค.03

  1 ธ.ค.03  ถึง 20 ก.พ.05

20 ก.พ.05  ถึง 20 พ.ย.05

20 พ.ย.05  ถึง 11 ก.ย.07

11 ก.ย.07  ถึง 11 มิ.ย.11

11 มิ.ย.11  ถึง  1 ส.ค.30

  1 ส.ค.30  ถึง  1 พ.ย.36

  1 พ.ย.38  ถึง  1 เม.ย.41

  1 เม.ย.41 ถึง  1 ต.ค.48

  1 ส.ค.48  ถึง  1 ก.พ.51

  1 ก.พ.51  ถึง  31 ธ.ค.51

  1 ม.ค.54  ถึง  31 ส.ค.53 

  1 ก.ย.53  ถึง  29 ก.พ.54 

  1 มี.ค.54  ถึง  ปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           การบรรจุเจ้าหน้าที่ประจำสถานีวิทยุ (ตามคำสั่ง กวส.วปถ.สส.)

                              เจ้าหน้าที่ทหาร       จำนวน  7  อัตรา

                              เจ้าหน้าที่พลเรือน   จำนวน  5  อัตรา 

ลำดับ

ยศ-ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

ร.ท.สมพร  มะลิหอม

จ.ส.อ.สมบัติ   มะโนวรรณ์

จ.ส.อ.วัลลภ  วรรณมะกอก

จ.ส.อ.อรุณ   แปงเขียว

จ.ส.อ.นเรนทร์ฤทธิ์   รอดอารีย์

จ.ส.ท.จำนงค์   ปัญญาวัฒโน

ส.อ.สมชาย  ไพรรัตนาคีรี

นายวัลลภ   นามวงค์พรหม

นางอำนวยพร   สรรพตานนท์

นางวันเพ็ญ   วิไลรัตน์

นางพัชรพฤกษ์  แปงเขียว

นายสุรพล   จินดาหลวง

หน.สถานี

ผช.หน.สถานี

ควบคุมเสียง

ฝ่ายเทคนิค

ฝ่ายเทคนิค

ควบคุมเสียง

ควบคุมเสียง

ฝ่ายผลิตและจัดรายการ

ฝ่ายผลิตและจัดรายการ

ฝ่ายธุรการ

ฝ่ายธุรการ

นักการภารโรง

 

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  82,327
Today:  5
PageView/Month:  677

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com